รู้จักกับ โรคซึมเศร้า รวมถึงแนวทางการรักษาป้องกัน

30 ก.ค. 2563 เวลา 00:54 น.โรคซึมเศร้ารักษาโรคซึมเศร้าป้องกันโรคซึมเศร้า
แชร์บทความ แชร์ผ่าน Facebookแชร์ผ่าน Twitterแชร์ผ่าน LINE
รู้จักกับ โรคซึมเศร้า รวมถึงแนวทางการรักษาป้องกัน

ช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เรามักจะเห็นสื่อต่างๆ มีการนำเสนอข่าวคนดัง ข่าวอาชญากรรม หรือแม้แต่ข่าวการฆ่าตัวตายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการโรคซึมเศร้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เราจึงควรตระหนักว่า โรคซึมเศร้านั่นใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเสี่ยงหรือเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ เพราะข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในเชิงลึกสักเท่าไหร่ วันนี้เราจะลองมาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการระวังและหาทางป้องกันหรือรีบรักษาต่อไป

 

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย แต่ที่คนส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าก็มักจะนึกถึงเพียงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป จึงคิดว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดหวัง หรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้นั้นประกอบไปด้วยพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตเช่นการใช้ยาหรือสารบางชนิด

เราอาจจะสำรวจตัวเองง่ายๆว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าหรือยังได้จากเกณฑ์ที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

หากมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป โดยต้องมีข้อ 1. หรือข้อ 2. อยู่ด้วย หากอาการ 5 ข้อใน 9 ข้อดังกล่าวเป็นยาวนานติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ ก็เข้าข่ายเสี่ยง ควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขหรือรักษาต่อไป

รู้สึกเศร้า เบื่อ ท้อแท้ หรือหงุดหงิดง่ายอย่างต่อเนื่อง เลิกสนใจสิ่งที่เคยชอบมากๆ หรือไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป กินมากไป กินน้อยไป จนทำให้น้ำหนักขึ้นหรือลงผิดปกติจากที่เคยหลับง่ายก็หลับยากขึ้น หรือไม่ก็นอนมากเกินไป มีอาการกระวนกระวายหรือเฉื่อยชาที่แสดงออกให้เห็นชัด รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ไม่มีพลัง ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด โทษตัวเองในทุกๆเรื่อง ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ มีปัญหาเรื่องการคิดหรือตัดสินใจ คิดถึงความตายหรืออยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ

 

ทำอย่างไรจึงห่างไกลโรคซึมเศร้า

หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
ในด้านจิตใจ ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง ควรหางานอดิเรก คลายเครียด เข้าชมรมต่างๆ ที่เหมาะกับวัย หรือเป็นจิตอาสา ทําสิ่งที่ทำให้รู้สึกตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า รู้ว่าใครรักและเป็นห่วงก็ให้อยู่ใกล้คนๆ นั้น และให้อยู่ห่างจากคนที่ไม่ถูกใจ
ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป ไม่ไปอยู่ในสถานการณ์หรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ หากมีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคใดๆ อยู่ไม่ควรหยุดยาเอง โดยเฉพาะถ้ารักษาโรคด้านจิตเวชอยู่ควรกินยาตามแพทย์สั่ง อย่าได้ขาดหรือหยุดยาเอง

 

ท้ายที่สุด... เราไม่สามารถรักษาหรือบำบัดโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่าชีวิตของตนเองไม่ปกติ ขาดความสมดุล มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและวิธีป้องกันรวมถึงทำการรักษาปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา

Vintage photo created by jcomp - www.freepik.com

บทความที่คุณอาจสนใจ

ระบบพูดคุย

คุณสามารถพูดคุยกับคนขายหรือผู้สนใจซื้อสินค้าของคุณได้ง่ายๆที่นี่ ให้คุณไม่พลาดทุกการติดต่อ

เข้าสู่ระบบก่อนเริ่มต้นใช้งาน

เข้าสู่ระบบ